ads

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ตั้งค่ารับเงิน Direct Deposit จาก Amazon.com

ตั้งค่ารับเงิน Direct Deposit  จาก Amazon.com

สำหรับท่านที่ทำ Affiliate กับ Amazon.com  เมื่อมียอดเข้าก็ถึงช่วงเวลารับเงินแล้วล่ะ (เวลาที่รอคอย)  ทีนี้การรับเงินด้วยการรับเป็นเช็คอาจจะไม่สะดวกด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง   ไม่ว่าจะเป็น การล่าช้ากว่าจะได้เงิน  รอ Amazon ตัดรอบก็ 2 เดือนไปแล้ว  ส่งเช็คทางไปรษณีย์ก็กินเวลา 2-4 อาทิตย์แล้วแต่บ้านใครใกล้ไกลเมือง  หรือดวงไม่ดีเช็คหายระหว่างทางส่งไม่ถึงอีก   พอได้เช็คมาก็นำไปขึ้นเงินก็ต้องขึ้นแบบ hold ยอดเงินไว้ 45 วัน  ( ถ้าขึ้นแบบเรียกเก็บเลยก็ได้แต่จะต้องเสียค่าเรียกเก็บขาไปและกลับ $10 + $20 = $30 อีก ไม่คุ้มกับการขึ้นเงินเลยครับแบบนี้ ) และไม่ใช่ว่าธนาคารทุกสาขาจะรับขึ้นเงินต่างประเทศด้วยนะครับ  ต้องหาสาขาที่มีแผนกเงินตราต่างประเทศอีก  (เรื่องเยอะจริงๆ)
ส่วนมาก็เลยหันมาใช้วิธีการแบบ Direct Deposit  ซึ่ง ณ ปัจจุบัน  ธนาคารเดียวที่ใช้ได้คือ ธนาคารกรุงเทพ ครับ  เพราะมีสาขาที่อเมริกา   โดยค่าธรรมเนียมในการโอนจะมีดังนี้

ค่าธรรมเนียมโอนเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ก
- ยอดเงินโอน น้อยกว่า $50 ไม่คิดค่าธรรมเนียม
- ยอดเงินโอน $51-$100 คิดค่าธรรมเนียม $3
- ยอดเงินโอน $100.01-$2,000 คิดค่าธรรมเนียม $5
- ยอดเงินโอน $2,000.01-$50,000 คิดค่าธรรมเนียม $10
- ยอดเงินโอน $50,000.01 ขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียม $20

และค่าธรรมเนียมการรับเงินโอนจากต่างประเทศ ของธนาคารกรุงเทพในประเทศไทย 200 บาท หรือ  0.25% ของมูลค่าเป็นเงินบาทแต่ไม่เกิน 500 บาท

เมื่อลองสังเกตดูจะเห็นว่าช่วง เรท $100.01 - $2,000 จะมีช่วงที่กว้างกว่า และค่าธรรมเนียมเป็น $5  จึงน่าจะช่วงที่คุ้มค่าที่สุด  หากจะมีการโอนในช่วงนี้

วิธีตั้งค่ารับเงิน Direct Deposit ของ Amazon
1. Login Amazon Associate (affiliate-program.amazon.com)
2. คลิก Account Settings เมนูมุมขวาบน
3. คลิก Change Payment Method
4. เลือก Direct Deposit แล้วใส่ค่าตามนี้
- Bank Name: BANGKOK BANK
- Bank Account Holder Name: ชื่อบัญชีเรา ภาษาอังกฤษ
- Bank Account Type: เลือก Savings
- Bank Account Number: ใส่หมายเลขบัญชีธนาคารกรุงเทพ 10 หลักของเรา
- Routing Number / ABA Number: 026008691 (ห้ามผิด เด็ดขาดไม่งั้นอดเงินครับ)**


ซึ่งการโอนแบบ Direct Deposit ของเมนู Amzon.com เราจะเปลียนค่า theshold น้อยสุดที่ $10  และเปลียนปรับค่าไม่ได้แบบรับด้วยเช็ค  ซึ่งหากยอดเงิน Amazon แต่ละเดือนมันไม่มากมายทะลุเป็น 4-500$ ทุกเดือน  มันก็ไม่คุ้ม  ลองคิดเช่น  เดือนนี้ยอดมา $12 เหรียญ   ระบบตัดยอดโอนที่ $12 - ค่าโอนเงินตราต่างประเทศ 200 บาท จะเหลือกี่บาทล่ะนั่น ไม่คุ้มๆ

** คนส่วนมากที่ยอดไม่เยอะนักจึงใช้วิธีตั้งค่ารับเงินจาก Amazon เป็นรับด้วยเช็คก่อน  แต่จะปรับค่า Minimum ในการออกเช็คไว้สูงๆ เช่น $500 , $1000 อะไรก็ว่าไป  แล้วเมื่อสะสมยอดได้เท่าที่เราต้องการแล้วที่ยังอยู่ในช่วง ( ยอดเงินโอน $100.01-$2,000 คิดค่าธรรมเนียม $5 )  ก็ค่อยปรับมาเป็นรับด้วยวิธี Direct Deposit (  ซึ่งต้องปรับก่อนรอบที่เราจะได้เงินน้อยสุดประมาณ 1 เดือนครับ  ระบบที่เราตั้งค่าจะมีผลต่อระบบตัดเงินในรอบเดือนถัดไป )

เท่านี้เราก็ได้รับเงินโดยเสียค่าธรรมเนียมคุ้มค่าที่สุดแล้ว  เมื่อรับเงินเรียบร้อยเราก็เปลียนกลับไปเป็นรับแบบเช็คต่อ  แล้วก็สะสมไปเรื่อยๆ ต่อไป

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

สคริปเช็คค่า parameter ของ mysql ว่า tuning พอดีแล้วหรือยัง


สคริปเช็คค่า parameter ของ mysql ว่า tuning พอดีแล้วหรือยัง

สคริปใช้เช็คค่าตัวแปรต่างๆ ในไฟล์คอนฟิก mysql  ว่าเรา tuning พอดีแล้วหรือยัง   โดยจะคำนวนจากทรัพยากรเครืองนั้นๆ ว่ามี cpu / ram เท่าไหร่
ทั้งนี้ทั้งนั้น  ภายใต้การใช้งานจริงแต่ละที่แตต่ละโปรเจคอาจมีความแตกต่างกันไป   แต่ก็เป็นค่ากลางที่ดีในการที่เราจะ tuning ขึ้นหรือลง ต่อไปตามต้องการ
โดยหลักๆ จะดูค่าคอนฟิก


Slow Query Log
Max Connections
Worker Threads
Key Buffer
Query Cache
Sort Buffer
Joins
Temp Tables
Table (Open & Definition) Cache
Table Locking
Table Scans (read_buffer)
Innodb Status

ประมาณนี้
สามารถดาวน์โหลดได้ที่  

MySQL Performance Tuning Primer Script


เมื่อได้ไฟล์มา chmod 755 และสั่ง run เลย
# chmod 755 tunning-primer.sh
# ./tunning-primer.sh

ระสักครู่สคริปจะโชว์ตัวเลขออกมาให้เราว่าควรจะลดหรือเพิ่มอะไรตรงไหน
เราก็วิเคราะห์ตามการใช้งานของเราไป

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ไฟล์ php ให้โชว์ list file ใน directory นั้น

ไฟล์ php ให้โชว์ list file ใน directory นั้น

ใช้สำหรับโชว์ list ว่าในโฟลเดอร์นั้นมีไฟล์อะไรผ่าน browser เลย
server บางเจ้าบิด allow list ไว้ใช้อันนี้ดูแทน  code ดังนี้

<?php
// open this directory 
$myDirectory = opendir(".");

// get each entry
while($entryName = readdir($myDirectory)) {
        $dirArray[] = $entryName;
}

// close directory
closedir($myDirectory);

//      count elements in array
$indexCount     = count($dirArray);
Print ("$indexCount files<br>\n");

// sort 'em
sort($dirArray);

// print 'em
print("<TABLE border=1 cellpadding=5 cellspacing=0 class=whitelinks>\n");
print("<TR><TH>Filename</TH><th>Filetype</th><th>Filesize</th></TR>\n");
// loop through the array of files and print them all
for($index=0; $index < $indexCount; $index++) {
        if (substr("$dirArray[$index]", 0, 1) != "."){ // don't list hidden files
                print("<TR><TD><a href=\"$dirArray[$index]\">$dirArray[$index]</a></td>");
                print("<td>");
                print(filetype($dirArray[$index]));
                print("</td>");
                print("<td>");
                print(filesize($dirArray[$index]));
                print("</td>");
                print("</TR>\n");
        }
}
print("</TABLE>\n");
?>

เอาไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นกันต่อไปครับ

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556